ความหมายพื้นฐานของพระคาถาทั้ง ๔๘ ทักษามหายุค โดยครูโนรี

สยามออราเคิล โดยครูเชฟ |

● แผนภูมิที่ ๑ คือ ปีเกิด เชื้อสายสกุลวงศ์

.

“บริวาร” = ครอบครัว ญาติพี่น้อง สังคมรอบๆ ตัวเราตั้งแต่ วัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน วัยชรา

“อายุ” = สุขภาพ พลานามัย ความสั้นยาวของแต่ละเรื่องราว ความเก่าแก่

.

“เดช” = ความกล้า กำลังกาย อำนาจ ตำแหน่ง เกียรติยศ ชื่อเสียง โด่งดัง ความเอาแต่ใจ

.

“ศรี ” = คุณธรรมความดี บุญกุศล สุข สะดวก สะอาด สิ่งสวยงาม ความโชคดี

.

“มูละ” ที่ดิน มรดก บ้าน โบราณวัตถุ ทรัพย์สินมรดก ตำแหน่งสำคัญที่ได้รับแต่งตั้ง

.

“อุตสาหะ” = ความขยันหมั่นเพียร การโยกย้าย การเดินทาง การพลัดพราก

.

“มนตรี” ผู้รอบรู้ นักวางแผน ที่ปรึกษา ที่พึ่งอาศัย เพื่อนคู่คิด แพทย์ ทนายความ

.

“กาลกิณี” = ความไม่ดี อกุศล ของเสีย ของมีตำหนิ ความพิการ ถูกนินทา ใส่ร้าย มีมลทิน

.

● แผนภูมินี้ให้เขียนเดินตามเข็มนาฬิกา เช่น “ปี” ภูมิพระอาทิตย์ (๑) ให้เดินดาว

๑->๒->๓->๔->๗->๕->๘->๖ เฉพาะแผนภูมิ “ปี” เท่านั้นที่เดินเวียนขวาแบบนี้

● แผนภูมิที่ ๒ คือ แผนภูมิ “ปี” บริวาร- ศุภะ

ปีอยู่ที่ใด ศุภะ อยู่ที่นั่นเสมอ

.

“ศุภะ” = ความปลอดภัย ความเจริญ ความเรียบร้อย ถิ่นกำเนิดหรือที่ตายเพราะเป็นเจ้า แห่งปีเกิดของบุคคลทั้งหลาย

.

“กัมมะ” = การงาน อาชีพ หน้าที่ ภาระที่ต้องทำ ต้องรับผิดชอบ ความรู้ ความสามารถ

.

“ลาภะ” = โชคลาภ ความสมหวัง รับทรัพย์ สิ่งที่ได้พิเศษ สิ่งที่ได้รับความสะดวกสบาย

.

“วิบัติ” = การเปลี่ยนแปลง การเสื่อม การพินาศ สิ้นสภาพ หรือในทางกลับกันอาจจะดีขึ้น เจริญขึ้น

.

“สมบัติ” = ทรัพย์สมบัติ ได้แก่ รูปสมบัติ , ธนสมบัติ , วุฒิสมบัติ,บริวารสมบัติ

.

“วิชา” = ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ความสามารถพิเศษ ความรู้ที่ใช้ประกอบอาชีพ

.

“อำนาจ” = ยศศักดิ์-เงินทอง ที่อาจใช้ในทางดีหรือทางไม่ดี ความเกรงกลัวต่ออิทธิพล

.

“ปัญญา” = ความรู้เท่าทัน ฉลาด นักแก้ปัญหา รู้เท่าไว้กัน-รู้ทันไว้แก้

.

● เขียนตามลำดับภูมิดาว เช่น คนเกิด “เดือน” อยู่ภูมิพระอาทิตย์ (๑)

เดินตามดาวดังนี้ ๑->๒->๓->๔->๕->๖->๗->๘

● แผนภูมิที่ ๓ คือ เดือนเกิด  ตนุ ตัวตนเจ้าชะตา

.

“ตนุ ” = ตัวตน ลักษณะนิสัย บุคลิก เกียรติ-ชื่อเสียง-เครดิต-ตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าชะตา

.

“กฏุมภะ” = เงิน ทรัพย์สิน สมบัติ หรือผลประโยชน์ของเจ้าชะตา ที่ดิน ที่บ้านของเจ้าชะตา

.

“สหัชชะ” = เพื่อน การสังคม การติดต่อ การเดินทางที่ไม่ต้องค้างแรม เดินทางที่ใกล้ ๆ

.

“พันธุ ” = ญาติพี่น้อง เอสารพันธะสัญญาต่าง ๆ เงื่อนไข ข้อผูกมัด

.

“ปุตตะ” = ลูก ลูกน้อง ลูกจ้าง เด็ก ความสนุกความบันเทิง ความคะนอง ความประมาท การลงทุน การเสี่ยงโชค ความรักแบบเด็ก ๆ รักครั้งใหม่

.

“อริ” = ศัตรู คู่แข่งขัน อุปสรรค ความยุ่งยาก ความไม่สะดวก หนี้สิน ค่าใช้จ่าย

.

“ปัตตนิ” = คู่รัก คู่สมรส ผู้ร่วมผลประโยชน์ หุ้นส่วน ฝ่ายตรงข้าม

.

“มรณะ ” = การเจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บ ตาย หาย การสูญเสีย การพลัดพราก การเดินทางไกล

● แผนภูมิที่ ๔ คือ วันเกิด รายได้, อาหาร และยา

.

“ชาติ” = อาหาร ยา ผลประโยชน์ รายได้ต่าง ๆ เช่น ค่าคอมมิชชั่น ค่าน้ำมัน

.

“ภพ” = สิ่งแวดล้อมในขณะที่เกิด เก่าๆ ของเก่าแก่ เรื่องเก่า ๆ

.

“ธนัง” = ทรัพย์สินจากพ่อแม่ ของขวัญ เครื่องประดับ เงินขวัญถุง การแบ่งปัน

.

“ปิตา” = พ่อ เจ้านายผู้ชาย ญาติฝ่ายชาย คุณตา คุณอา คุณลุง ชื่อเสียง

.

“มาตา” = แม่ พี่เลี้ยง เจ้านายผู้หญิง ญาติฝ่ายหญิง คุณยาย คุณน้า คุณป้า ความน่ารัก เมตตา

.

“เคหา” = บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ที่หลบกำบัง ศาลา กระท่อม เพิง

.

“รุกขา” = ความสะดวกสบาย ความร่มรื่นร่มเย็น ต้นไม้ ไร่นาป่าสวน เทวดา เฟอร์นิเจอร์

.

“ยานัง” = ยวดยานพาหนะ รถ เรือ เครื่องบิน ช้าง ม้า ถนนหนทางตรอกซอกซอย การเดินทาง

● แผนภูมิที่ ๕ คือ แผนภูมิบารมี

วาสนา ได้จาก ปีเกิด+เดือนเกิด+วันเกิด หากเกิน ๘ เอา ๘ ลบ คือดาว “วาสนา”

.

“วาสนา” = สรุปผลดีชั่วแห่งดวงเจ้าชาตาว่าจะเป็นอย่างไร แนวโน้มชีวิต

.

“ทาน” = การให้ การเสียสละ ความใจง่าย การบริจาค ยอมอุทิศส่วนกุศลให้

.

“ศีล” = มีระเบียบปฏิบัติที่ดี การพึงประพฤติที่เหมาะสม กฎเกณฑ์

.

“เนกขัมมะ” = อดกลั้นเก่ง สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน การบวช การปฏิบัติธรรมของแต่ละศาสนา

.

“สัจจะ” = มีความจริงใจ การรักษาคำมั่น ความซื่อตรง สัญญา รู้ก็รู้จริง ทำก็ทำจริง

.

“วิริยะ” = ความมานะพยายาม ความเข้มแข็ง สม่ำเสมอ

.

“ขันติ” = มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุ หรือสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ

.

“อธิษฐาน” = การตั้งใจมั่น การขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ

● แผนภูมิที่ ๖ คือ ฤกษ์ ได้จากวาสนา+ยามถัดไป+ยามถัดไป ลบ ด้วย๘ เศษ คือ “ทลิทโท”

.

“ทลิทโท” = การเอาตัวรอดได้ น้อย ความจำกัด พอเพียง ความสันโดษ ความพอเหมาะพอดี

.

“มหัทธโน” = ฤกษ์นี้เจริญรุ่งเรืองทางทรัพย์สิน มาก เหลือกิน เหลือใช้ ร่ำรวย

.

“โจโร” = เก่งในการหาช่องโอกาสเอาเปรียบผู้อื่น ชิงไหวชิงพริบ เหมาะแก่งานที่ต้องยื่น ซองประกวดราคา รวดเร็ว ขโมย การสำรวจ ค้นหา การเดินทาง อยู่ไม่ติดที่

.

“ภูมิปาโล” = เหมาะแก่การปลูกสร้างอาคาร จัดสรรที่ดิน หรืออาคารกิจการที่เจริญ มีหลักฐาน มั่นคง เนิ่นนาน แน่นอน ผู้พิทักษ์รักษา ดูแล ความรับผิดชอบ

.

“เทศาตรี” = เหมาะแก่การค้าขายโดยตรง ทั้งการติดต่อระดับท้องถิ่นหรือแม้แต่การติดต่อกับ ต่างประเทศก็ยิ่งดี กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง การคมนาคม จับฉ่าย ฤกษ์ พ่อค้าแม่ ขาย นักธุรกิจ หลากหลาย ผู้แสวงหาผลกำไร

.

“เทวี” = การจัดสรร ความละเอียด หลักทรัพย์ เจ้าระเบียบ จุกจิกจู้จี้ ฤกษ์หญิงงามเมือง

.

“เพชฌฆาต” = เป็นฤกษ์ที่ต้องการความเฉียบขาด เหมาะแก่การสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระ เครื่อง พระบูชา การค้าเนื้อสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ กฎหมาย กฎเกณฑ์ คดีความ อาวุธ ทะเลาะ ผ่าตัด อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ดุ เข็มงวด

.

“ราชา” = ฤกษ์บริหาร ผู้นำ รักสบาย ขี้เกียจ การทำตนให้เป็นที่รักของตนเองและผู้อื่น

.

#ครูโนรีทักษายุค

#ทักษายุค#ทักษามหายุค

สยามออราเคิล โดยครูเชฟ |

Related Posts

☻ ทักษายุค วันละนิด with ครูโนรี เสนอพระคาถาคำว่า “อำนาจ”

☻ ทักษายุค วันละนิด with ครูโน…

ดวงรายวันประจำวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 สไตล์ครูเชฟรหัสชีวิต: วันแห่งความสมดุลและการเริ่มต้นใหม่ที่มั่นคง

สไตล์ครูเชฟรหัสชีวิต: วันแห่งค…

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Share to...