เหรียญ 100 ปี สมเด็จโตฯ สนนราคาเฉียดล้าน หันหน้าเฉียงครึ่งองค์

สยามออราเคิล โดยครูเชฟ |

บทความRSS Feedนี้ จาก Thairath.com

เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

1. พิมพ์ใหญ่ ราคา 750,000 บาท

2. พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ ราคา 450,000 บาท ปี 2515 วัดระฆังโฆสิตาราม

จัดสร้างเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 ซ.ม. และขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซ.ม.

โดย อาจารย์สนั่น ศิลากร เป็นผู้ออกแบบ มอบให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ เป็นผู้ผลิต

ลักษณะด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต หันหน้าเฉียงครึ่งองค์

ด้านหลังเหรียญตรงกลางเป็นยันต์สมเด็จฯ โต มีข้อความล้อมรอบว่า “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕”

สำหรับเหรียญทั้งสองขนาดนี้ มีการจัดสร้าง เนื้อทองคำ ขนาดละ 1,000 เหรียญ, เนื้อเงิน ขนาดละ 2,514 เหรียญ และเนื้อทองแดง ขนาดละ 84,000 เหรียญ

เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จโตฯ พิมพ์ใหญ่
เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จโตฯ พิมพ์ใหญ่

นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้ดำเนินการจัดสร้าง “เหรียญชุดกรรมการ” ด้วยเนื้อทองคำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.1 ซ.ม.เพียงขนาดเดียว สำหรับนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซ.ม. และขนาด 4.1 ซ.ม. สร้างด้วยเนื้อทองแดง สำหรับมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณในการช่วยเหลือทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือขณะนั้นรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการดำเนินงาน พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส พิธีในการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี ประกอบไปด้วยพิธีทั้งทางสงฆ์และพราหมณ์ รวมทั้งสิ้น 3 วาระด้วยกัน

เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จโตฯ พิมพ์เล็ก
เหรียญอนุสรณ์ครบ 100 ปี สมเด็จโตฯ พิมพ์เล็ก

วาระที่ 1 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกทองชนวนและผงมวลสาร หมายกำหนดการวาระแรก วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2514 พิธีการในส่วนนี้จัดขึ้นตามแบบขนบธรรมเนียมทั้งพิธีสงฆ์ และ พิธีพราหมณ์ มีการประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญบารมีแห่งเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทำพิธีบูชาฤกษ์ บูชาเทพยดา ประธานฝ่ายสงฆ์ พระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายพราหมณ์ พระราชครูวามเทพมุนี พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการดำเนินงานจุดเทียนถวายพระราชธรรมภาณี ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย

วาระที่ 2 ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาจำลองและรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต หมายกำหนดการวาระที่ 2 วันเสาร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาเททองเป็นปฐมฤกษ์ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. และทรงปลูกต้นจันทน์หน้าหอพระไตรปิฎกด้วย

วาระที่ 3 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่าง ๆ หมายกำหนดการวาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก และทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนั้นประกอบไปด้วย พระพุทธรูปจำลององค์พระประธาน ขนาดบูชา เนื้อนวโลหะ พระกริ่งจำลององค์พระประธาน เนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะ พระรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต ขนาดบูชา เนื้อนวโลหะ พระรูปเหมือนลอยองค์สมเด็จพุฒาจารย์โต เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ เหรียญสมเด็จพุฒาจารย์โต เนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ

พระผงพิมพ์พระสมเด็จ และ พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่าการสะสมมาก

ผู้เขียน : ป๋องสุพรรณการันตี

source
ขอขอบคุณบทความและ RssFeedของThairath.com ครับ

สยามออราเคิล โดยครูเชฟ |

Related Posts

ดูดวงรายวันประจำวันศุกร์ ที่ 11 เมษายน 2568 สำหรับท่านที่เกิดวันพฤหัสบดี

ดูดวงรายวันประจำวันศุกร์ ที่ 11 เมษายน 2568 สำหรับท่านที่เกิดวันศุกร์

StatCounter - Free Web Tracker and Counter