
#ยามอุบากองฤกษ์ยามที่ใช้เดินทางหรือจะเรียกอีกอย่างว่า ยามพม่าแหกคุก
ยามอุบากองนี้ใช้ในการเดินทางจะดีมากในสมัยโบราณนั้นถึงกับนำมาสักตามตัวเพื่อใช้ในการเดินทาง เช่นสักตามแขนและขา #ประวัติยามอุบากองเป็นชื่อของทหารเอกของพม่าที่เข้ามาตีไทยสมัยต้นรัชกาลกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง และมีประวัติที่ปรากฏในประวัติศาตร์อย่างนี้

อุบากอง เป็นายทหารยศนายขุนพล ได้ขุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่เมือแรม๑ค่ำ เดือน๕ ปีมะเมีย พ.ศ ๒๓๔๐ คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก๙ทัพมาไทยนั้นเอง(สงคราม๙ทัพไทยพม่า) แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏหลักฐาน อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมได้คราวนั้น พ่อเมืองเชียงใหม่ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯเมื่อขึ้น๘ค่ำ เดือน๖ ปีมะเมีย พ.ศ ๒๓๔๐ สมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที่
ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกืดในเมืองไทยมีพ่อเป็นเชื้อสายพม่า ส่วนแม่เป็นคนไทยอยู่แถบเมือง ธนบุรี พระองค์จึงทรงเมตตาพระราชทานเสื้อผ้า และให้นำไปคุมขังไว้ที่คุก วัดโพธาราม(วัดพระเชตุพนฯในปันจุบัน)แถวๆกรมรักษาดินแดน และในระหว่างถูกคุมขังนั้นก็ได้สอนตำรา ยันต์ยามยาตรา ให้กับพรรคพวก และก็ใช้ยามนี้สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมือพรรคพวกที่เรียน ยามยาตราได้ตามที่บอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดีจึงสามารถพากันแหกคุกวัดโพธิ์หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย และนำพรรคพวกหลบหนีกลับพม่าได้ #แต่บังเอิญนักโทษพม่าที่มีเชื้อสายไทยที่เรียนยามยาตรานี้ไปกลับไปด้วย จึงมาบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษจึงนำมาเล่าเรียนและได้เปลียนชื่อใหม่ว่า #ยามอุบากอง ตามนายทหารที่ได้สอนไว้ก่อนครับ
@สูญหนึ่ง อย่าพึงจร แม้ราญรอญ จะอัปรา
สองสูญ. เร่งยาตรา จะมีลาภ สวัสดี
ปลอดสูญ พูลสวัสดิ์ ภัยวิบัติ ลาภบ่มี
กากะบาด. ตัวอัปรี แม้จรลี จะอัปรา
สี่สูญ จะพูลผล แม้จรดล ดีหนักหนา
มีลาภล้น คณะนา เร่งยาตรา จะมีชัย